google analyics

หน้าเว็บ

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เที่ยวป่าช้า...สุสานฝรั่งที่เก่าแก่ในยานนาวา สมัยรัชกาลที่ 5

    เก็บภาพถ่ายที่น่าสนใจที่เดียว กับความทรงจำและความประทับใจของการไปเที่ยวป่าช้าอันเก่าแก่ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีความเป็นพิเศษเพราะสถานที่แห่งนี้เป็นสุสานของฝรั่งที่
ข้ามาทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ครับ

เมื่อผ่านรั่วกำแพงสุสานโปรเตสแตน์ยานนาวาเข้าไปแล้วจะเห็นภาพลักษณะนี้ครับ

อนุสาวรีย์และป้ายเหนือหลุมศพ เซอร์จอห์นบุชหรือกัปตัน ซึ่งเคยรับใช้ ร. 4-5 ต่อเนื่อง
กันเป็นเวลานานถึง 40 กว่าปี ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระวิสูตรสาครดิษฐ์
เกิดเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ.1819 (พ.ศ.2362) ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ 1905 (พ.ศ.2448)
ร.5 ทรงสร้างอนุสาวรีย์พระราชทาน

ที่ฝั่งศพตระกูลแมคฟาร์แลนด์ผู้สร้างคุณประโยชน์แก่เมืองไทยหลายประการเช่นผู้ประดิษฐ์
เครื่องพิมพ์ดีดไทย เป็นอาจารย์แพทย์รุ่นแรกๆ

ภาพป้ายเหนือหลุมศพ เซอร์จอรห์น บุช

ป้ายเหนือหลุมศพแฮมิลตันคิงอดีตเอกอัครราชทูตอเมริกันสมัย ร. 5

ป้ายแนวตั้งบนหลุมผั่งศพ จอห์น เทเลอร์ โจนส์ หมอสอนศาสนารุ่นบุกเบิก
กับภรรยา เอลิซา กรู โจนส์ และลูกชาย Heney Grew ลูกสาว Rebecca Wild


ป้ายบนหลุมฝั่งศพ ซาราห์ สลิพเปอร์ (กลาง)

ป้ายบนหลุมฝั่งศพ จอห์น ถึงแก่กรรมเมื่อ 13 กันยายน พ.ศ. 2364 อายุ 49 ปี
เอลิซา ถึงแก่กรรมเมื่อ 28 มีนาคม พ.ศ.2381 อายุ 35 ปี

ภาพเก่าที่น่าจดจำ...สมัยรัชกาลที่ 5

     ภาพถ่ายที่ได้นำมาให้ดูกันไหนเป็นภาพที่เก่าแก่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ครับ


สายไฟฟ้าบนถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ สมัย ร. 5 ช่วงสะพานดำรงสถิต

ขบวนแห่โล้ชิงช้าสมัย ร.5
 
โรงงานเครื่องจักรทำทองของพระปรีชากลการที่เมืองปราจีนบุรี

วัดหลวงปรีชา อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ที่ประหารชีวิตพระปรีชากลการ

พระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม

เพชรบุรีเมื่อสมัย ร. 5 มองไปทางเขาวังภาพวาดลายเส้นจากหนังสือของ ฮังรีมูโอต์

ภาพการเปิดคลองสายหนึ่งซึ่งไม่ทราบชื่อและรายละเอียด



วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การชำแหละปลานิลโดยวิถีชาวบ้าน...

     การชำแหละปลานิลนั้นทำได้ง่ายมากแต่บางครั้งต้องระมัดระวังไม่ให้โดนตรงจุกสำคัญที่อาจทำให้เราต้องรู้สึกถึงความเหม็นคาว เนื้อปลาจะไม่อร่อยแล้วแถมยังทำให้เสียรสชาติอีกด้วย ดังนั้นการชำแหละปลานิลจำเป็นต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการขูดเกล็ดปลาและผ่าท้องเอาใส้ และขี้ปลานิลออกมาให้หมดจด นี่ละครับวิถีชาวบ้านลองดูได้จากภาพถ่ายของการชำแหละปลานิลตัวโตๆ โดยวิถีชาวบ้านครับ...










วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บาบิโลน...นครแห่งกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์

     นครบาบิโลนคือหัวใจเต้นรัวของอาณาจักรที่แผ่ไพศาลตั้งแต่อียิปต์ฟากตะวันตกไปจรดอาณาจักรอีลัมอันเก่าแก่ ตะวันตกเฉียงใต้ของอีหร่าน ฟากตะวันออกทุกวันนี้บริเวณที่เคยเป็นนครที่ใหญ่ที่สุดในโลกเหลือเพียงอาณาบริเวณที่มีแต่ซากอิฐอิบสีน้ำตาลขุ่นและจนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 20 คนรุ่นหลังก็ได้รู้เรื่องราวทั้งหมดของนครบาบิโลนเป็นเมืองที่จัดว่าอายุค่อนข้างเยาว์อย่างน้อยเทียบกับประวัติศาสตร์เมโสโปเตเมีย
ซากอิฐดิบขนาดมหึมาในบริเวณที่เป็นประเทศอีรักปัจจุบันเป็นเพียงซากที่ยังคงหลงเหลืออยู่ของหอคอยบาเบล เป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกโบราณในมหานครที่โออ่าสง่างามเกินเมืองอื่นใดในยุคสมัยเดียวกันครับ...


ประตูอีซทาร์ประตูใหญ่ของนครบาบิโลน

เส้นทางประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์

ผู้ประทานกฏหมายเทพเจ้าชามาชประทานประมวลกฏหมายแก่ฮัมมูราบีกษัตริย์องค์ที่ 5

อาณาจักรอันไพศาลที่เต็มไปด้วยซากปรักหักพัง

แผนที่โลกของชาวบาบิโลน


ทาร์ควิเนีย...นครรัฐของอีทรัสคัน

              เอทรูเรียโบราณอันเป็นดินแดนของชาวอีทรัสคันตั้งอยู่ในภูมิภาค อัดงดงามตอนกลางของอิตาลีปัจจุบันคือทัสคานีมีอาณาเขตอยู่ระหว่างเทือกเขาแอพเพนไนส์ซึ่งเป็นเสมือนกระดูกสันหลังของคาบสมุทรนี้กับทะเลไทร์เรเนียนทางชายฝั่งตะวันตกอาณาเขตด้านทิศเหนือจรดแม่น้ำอาร์โนส่วนทิศใต้จรดแม่น้ำไทเบอร์
ความงามของภูมภาคนี้ขึ้นชื่อมาแต่โบราณสิ่งที่ทำให้เอทรูเรียเป็นแหล่งกำเนิดของอารยธรรมอิตาลีหาใช่ธรรมชาติที่สวยงามไม่หากแต่เป็นทรัพยากรแร่ธาตุอันอุดมดินแถบนี้อุดมสมบูรณ์เพราะมีแม่น้ำไหลผ่านหลายสาย และได้รับเถ้าภูเขาไฟช่วยบำรุงอีกทั้งยังมีสินแร่โลหะที่มีอยู่มากตั้งแต่เหล็ก ตะกั่ว และดีบุกไปจนถึงทองแดงและเงิน

ภาพนักดนตรีพเนจร
 
นครของผู้วายชนม์
 
ภาพจากหลุมศพบางหลุม
 
ภาพชายหญิงชาวอีทรัสคันนอนเอกเขนกอย่างเพลิดเพลินในงานเลี้ยง
 
เป็นผลงานช่างโลหะชาวอีทรัสคันนักมวยปล้ำต่อสู้กันบนฝาเหยือกสำริด

คู่ชายหญิงที่อิงแอบแนบชิดกันบนฝาหีบศพศิลาสมัยศตวรรษที่ 6
 
ของล้ำค่าเครื่องทองของชาวอีทรัสคันคือส่วนหัวแหวนมักตกแต่งด้วยรูปจิ๋วๆ หรือลวดลายลอยตัว


Amazon