google analyics

หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

ปาซีริค...สุสานน้ำแข็งเทือกเขาอัลไต

     แถบเทือกเขาอัลไตทางตอนใต้ของไซบีเรียเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ที่เต็มไปด้วยยอดเขาแหลมและหุบลึกพื้นที่ลาดต่ำททางตะวันตกเฉียงเหนือเป็นป่าทึบแต่ทางตะวันออกเฉียงใต้มีลักษณะกึ่งทะเลทรายภูมิทัศน์ดังกล่าวไม่มีอนุสรณ์สถานที่กร่อนทรายหรือซากกำแพงเมืองอยู่เลยแต่ภูเขาแถบนั้นเคยเป็นที่อยู่ของชนเผ่าเร่ร่อนซึ่งได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากทั้งจีนและราชวงศ์อาคีเมนิดแห่งเปอร์เซียและหลงเหลือไว้ซึ่งสุสานน้ำแข่งกระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณเทือกเขาอันไพศาลใกล้เขตแดนรัสเซีย จีน และมองโกลเลียง เผยถึงวัฒนธรรมโดดเด่นซึ่งดำรงอยู่เพียงช่วงเวลาสั้นๆ ของชนเผ่านี้


ภาพนักรบคึงคะนองขี้ม้าตกแต่งอย่างหรูหรา

หวีทองคำจากสุสานแห่งหนึ่งของชาวซีเทียนสลักเป็นภาพนักรบประดาบ

ชนเผ่าเร่ร่อนสมมัยปัจจุบันในเอเซียนตอนกลางยังคงเลี้ยงม้าและอาศัยอยู่ในเยิร์ต

ภาพร้างศพที่เพิ่งค้นพบเมื่อไม่นานในห้องฝั่งศพที่มีน้ำแข็งจับ
ในทุ่งสวรรค์ทางตะวันตกเฉียงใต้ของปาซีริค

คาร์เธจ...ประตูสู่การค้าตะวันตกอันมั่งคั่ง

     คาร์เธจผงาดเคียงข้างเอเธนส์และโรมในฐานะศูนย์กลางหลักแห่งหนึ่งของความมั่งคั่งและอำนาจในดินแดนแถบเมติเตอร์เรเนียนสมัยโบราณอันที่จริงนครแห่งนี้แทบจะแทนที่เมืองทั้งสองในฐานะผู้บุกเบิกอารยธรรมตะวันตกทั้งมวลได้ด้วยซ้ำย้อนไปเมื่อ12ปีก่อนคริสตกาลฮันนิบาลแม่ทัพชาวคาร์เธจมีโอกาสทำลายโรมันและเปลี่ยนโฉมหน้าประวัติศาสตร์ได้เกือบสำเร็จแต่คงเป็นชะตากรรมของอาร์เธจที่จะถูกลบออกจากโฉมหน้าของโลกจนหมดสิ้นหลังจากนั้นเพียง7ปีทุกวันนี้นครอันยิ่งใหญ่ซึ่งเคยตระหง่านเหนืออ่าวตูนีเซียหลงเหลือซากอยู่เพียงน้อยนิดกองทัพโรมันทำลายคาร์เธจลงจนราบคาบหลงเหลือเงาแห่งความรุ่งเรืองเพียงเลือนลางซึ่งรวบรวมได้จากงานนเขียนที่เจืออคติและไม่สมบูรณ์ของชาวกรีกและโรมันรวมทั้งจากกผลงานอันอุตสาหะของนักโบราณคดี


เผาผลาญแล้วกำเนิดใหม่ที่ตั้งอันเหมาะสมบนชายฝั่งตูนีเซีย
ทำให้คาร์เธจเป็นทำเลที่ดีสำหรับตั้งถิ่นฐานตลอดมาทุกยุคสมัย

ชาวโรมันซึ่งขึ้นชื่อด้านวิศวกรรม วางท่อน้ำเป็นระยะทาง 820 กม.
เพื่อส่งน้ำจากน้ำพุบนภูเขาซากูอานมายังนครคาร์เธจ

หน้ากากศักดิ์สิทธิ์ผู้ตั้งรกรากชาวฟินิเซียน
ทำหน้ากากจำลองจากแก้วผสมตะกั่ว

เรือรบส่วนใหญ่ของคาร์เธจและโรมันเป็นเรือที่มีฝีพาย 5 แถว

ถังน้ำฉาบปูนสำหรับเก็บน้ำฝน

สุสานโรมันสร้านซ้อนอยู่บนโทเฟ็ตหรือศาสนสถานของคาร์เธจ
ภายในบรรจุอัฐิของเด็กที่ถูกบูชายัญ

วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เพอร์เซโพลิส...นครหลวงแห่งพิธีกรรมของอาณาจักรเปอร์เซีย

     นับตั้งแต่ยุคกลางนักเดินทางชาวยุโรปต่างพิศวงกับซากนครเปอร์เซียโบราณนาม เพอร์เซโพลิส ปัจจุบันนครแห่งนี้มีชื่อว่า ทักห์เตจัมชิด ตั้งอยู่เชิงผาหินในที่ราบตอนใต้ของอิหร่านการขุดค้นครั้งใหญ่เพื่อสำรวจซากเมืองซึ่งครั้งหนึ่งจมอยู่ใต้ผืนดินเริ่มในค.ศ.1930 ท่ามกลางงานสลักหินนักโบราณคดีขุดค้นภาพสลักนูนต่ำที่เผยเรื่องราวทางศาสนาและชนชั้นทางสังคมของนครแห่งนี้ เพอร์เซโพลิสสร้างขึ้นช่วง 600-500 ปี ก่อนคริสตกาลโดยราชวงศ์เปอร์เซียที่สามารถพิชิตอารยธรรมยุคต้นทั้งมวลในดินแดนตะวันออกกลาง ภาพสลักนูนต่ำที่พบนั้นมีผู้คน 31 ชนชาติแสดงความภักดีต่ออำนาจของเปอร์เซียอย่างประทับใจมีทั้งชาวอียิปต์ ชาวลิเบีย ชาวทราเซียน ชาวซิลีเซียน ชาวไซปรัส ดินแดนเหล่านี้ล้วนต้องยอมสยบต่อการพิชิตของเปอร์เซีย

ศรีษะกระทิงประดับเสาหอคอย

ประตูแห่งทุกชนชาติ

ลานใหญ่ที่ยกสูงดูเด่นตระหง่านเหนือ เพอร์เซโพลิส

ภาพสลักประดับบันไดที่ทอดขึ้นสู่อาพาดาน่า

ภาพสลักบนสุสานหลวงที่ นัคเช รอสตัม

ที่พักกายสุดท้ายเหนือทางเข้าสู่สุสานของ เซอร์กซีสที่ 1 นัคเช รอสตัม

ข้าหลวงต่างแดนบรรณาการที่ เพอร์เซโพลิส

Amazon